Get Adobe Flash player

ธุรกิจการเช่าซื้อเครื่องบิน ความสำเร็จของสายการบินที่ไม่มีผู้โดยสาร

Rent To Fly,เรียนบิน,ฝึกบิน,นักบิน,CPL,เรียนต่อ,ศึกษาต่อ,อเมริกาเป็นที่ทราบกันว่า ในอดีตสายการบินส่วนใหญ่นิยมใช้วิธีซื้อเครื่องบินเพื่อนำมาให้บริการถึงแม้ว่าลักษณะในการซื้อจะทำให้เหมือนการเช่าซื้อ หรือทำการผ่อนชำระกับทางสถาบันการเงินต่างๆ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในด้านการลดหย่อนภาษี แต่ในปัจจุบันค่านิยมในการซื้อเครื่องบินนี้เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก สายการบินทั้งหลายเริ่มเปลี่ยนมาใช้วิธี การเช่าซื้อเครื่องบิน แทนการซื้อขาด จากการศึกษาพบว่า หนึ่งในสามของเครื่องบินทุกสายการบินทั่วโลกอยู่ในลักษณะการเช่า และมีท่าทีว่าวิธีการเช่านี้จะเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต นาย Paul Sheridan แห่งบริษัทที่ปรึกษาในด้านการขนส่งทางอากาศ Ascend ได้เปิดเผยข้อมูลว่า บริษัทที่เป็นเจ้าของธุรกิจสายการบินใหญ่ที่สุดในโลก 4 อันดับแรกนั้น มีอยู่ถึง 2 ใน 4 ที่เป็นบริษัทผู้ให้เช่าเครื่องบินคือ บริษัท GECAS และบริษัท ILFC ซึ่งมีเครื่องบินอยู่ในขณะนี้ถึง 1,732 และ 1,031 เครื่องตามลำดับ หากพิจารณาปริมาณในการจองเครื่องบินกับบริษัทสร้างเครื่องบินต่างๆที่มีปริมาณมากอยู่ในขณะนี้ ล้วนมาจากการสั่งจองของบริษัทให้เช่าเครื่องบินซึ่งชี้ให้เห็นว่า พวกเขามีความเชื่อมั่นในการเติบโตของธุรกิจนี้เป็นอย่างสูง

หนึ่งในบริษัทยักษ์ใหญ่ในธุรกิจสายนี้คือ บริษัท RBS Aviation ที่เพิ่งถูกประกาศขายโดยธนาคาร Royal Bank of Scotland และถูกซื้ออย่างรวดเร็วจากกลุ่มธนาคาร Sumitomo Mitsui ของญี่ปุ่น ด้วยเงินถึง 7.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นสัญญาณอย่างเด่นชัดที่ว่า กลุ่มธนาคารในเอเชีย มีความสนใจในธุรกิจนี้เป็นอย่างยิ่งไม่แพ้กับกลุ่มสถาบันลงทุนของชาติตะวันตก ยิ่งไปกว่านั้น หนึ่งในผู้แพ้การประมูลซื้อ บริษัท RBS Aviation ในครั้งนี้คือ China Development Bank ซึ่งเป็นธนาคารที่เพิ่งจะซื้อกิจการการให้เช่าเครื่องบินโดยสารในสิงคโปร์ไป

อีกหนึ่งความคิดเห็นจากนาย Philip Baggaley จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือทางการเงิน Standard & Poor’s ให้ไว้ว่าธุรกิจการให้เช่าเครื่องบินนั้นเป็นธุรกิจที่น่าสนใจมาก สายการบินที่มีปัญหาทางการเงินในการจัดหาเครื่องบินใหม่ๆและไม่สามารถระดมทุนมาได้ มีทางเลือกที่จะขายเครื่องบินที่มีอยู่บางส่วนไป แล้วใช้วิธีเช่าซื้อเครื่องบินมาทดแทน ดังเช่นที่สายการบิน Air France-KLM กำลังจะขายเครื่องบินที่มีมูลค่าสูงถึงเกือบ 900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อีกหนึ่งตัวอย่างคือ สายการบิน American Airline โดยบริษัท AMR ซึ่งเป็นบริษัทแม่ที่มีสถานะทางการเงินใกล้ระดับล้มละลายสามารถใช้วิธีนี้เพื่อให้ได้เงินจากการขายเครื่องบินที่มีอยู่บางส่วนแล้วทำการเช่าซื้อเครื่องบินเครื่องบินมาดำเนินธุรกิจต่อไป อีกทั้งยังเป็นการกระจายความเสี่ยงในการที่ไม่ต้องถือครองเครื่องบินไว้เป็นจำนวนมาก

“ ถ้าหากว่าการเช่าซื้อเครื่องบินเป็นสิ่งที่ดีกว่า แล้วเราจะซื้อเครื่องบินทำไม ” นี่เป็นคำกล่าวของ นาย Nat Pieper ผู้วางแผนด้านเครื่องบินของสายการบิน Delta ผู้ซึ่งมีความเห็นสนับสนุนแผนการเช่าซื้อเครื่องบินทั้งสำหรับสายการบินขนาดเล็ก, สายการบินใหม่, สายการบินที่ต้องการเปิดเส้นทางธุรกิจใหม่ๆ, หรือในสถาการณ์ที่บริษัทสร้างเครื่องบินไม่สามารถผลิตเครื่องบินได้ทันต่อความต้องการ แต่อย่างไรก็ตามเขายังเชื่อว่าการเช่าซื้อเครื่องบินนั้นเหมาะสำหรับแผนธุรกิจในระยะสั้นๆ มากกว่าระยะยาว

  


แหล่งที่มา :  thaiaero.com